วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

เก็บไว้ดูเอง..จะได้ไม่ต้องหา.

จัดสวนแนวตั้ง ไอเดียเก๋ ใช้พื้นที่น้อย

http://www.decorreport.com/a364034-%E0%B8%88-%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%95-%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%94-%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81-%E0%B9%83%E0%B8%8A-%E0%B8%9E-%E0%B8%99%E0%B8%97-%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%A2

กระท่อมไพรวัลย์ .เพลงไพเราะจัง.
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2012/07/22/entry-2

บ้าน สวน กระท่อมน้อยคอยนก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nature-delight&month=10-2006&date=04&group=21&gblog=2

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของพระอรหันต์ ตอนที่ ๑.

http://youtu.be/QRaZk8HW5rQ

พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ


พุทธคุณ.... ธรรมคุณ.... สังฆคุณ
http://youtu.be/vtxOI8_15BI        พุทธคุณพระธรรมคุณพระสังฆคุณ

http://youtu.be/22HQVmt18GY  บทสรรเสริญ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ คาถาพาหุง


พุทธคุณ...

คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา)
๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓. พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

ธรรมคุณ

คุณของพระธรรมคุณมี ๖ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรองเป็นบทสวดสำหรับน้อมนำระลึกไว้ในใจ ดังนี้

๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิและงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำบอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้

๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยการ ผู้ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผลได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำดับแห่งบรรลุไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล

๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง

๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา ผู้ปฏิบัติควรน้อมเข้ามาไว้ในใจของตนหรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดขึ้นในใจ

๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่งพระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจของตนเอง

คุณของพระธรรมข้อที่ ๑ มีความหมายกว้าง รวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนคุณของพระธรรมข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม

ดังนั้น เมื่อทราบความหมายของธรรมคุณ ๖ ทั้งหมดแล้ว การสวดมนต์เพื่อสรรเสริญพระธรรมคุณในครั้งต่อๆ ไป คงจะทรงความหมายอย่างเปี่ยมล้น

อนึ่ง การน้อมนำคุณของพระธรรม เพื่อเจริญธัมมานุสตินั้น มีอานิสงส์มาก ดังที่ ปัญญา ใช้บางยาง ได้บอกไว้ในหนังสือธรรมาธิบาย เล่ม ๑ ว่า

- ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
- ตระหนักและอ่อนน้อมในพระธรรม
- ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณ มีศรัทธา เป็นต้น
- เป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์
- ทนต่อความกลัว ความตกใจ อดกลั้นต่อทุกข์
- รู้สึกว่าได้อยู่กับพระธรรม
- เป็นบาทฐานให้บรรลุธรรมอันยิ่ง
- เมื่อประสบกับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะ ย่อมปรากฏแก่เธอ
- เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่ง เธอย่อมมีสุคติต่อไป

สังฆคุณ
มี ๙ ประการ ๔ ประการแรกเป็นเหตุและ ๕ ประการหลังเป็นผลดังต่อไปนี้

๑.สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น ผู้ปฏิบัติดีคือ ๑.ปฏิบัติไปตามมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงเครียดนัก ๒.ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติได้ดีเท่าเดิม หรือก้าวหน้าสูงขึ้นไป ๓.ปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

๒.อุขุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น ผู้ปฏิบัติตรง คือ ๑. ไม่ปฏิบัติลวงโลก คือ ปฏิบัติต่อหน้าคนอย่างหนึ่ง ปฏิบัติลับหลังคนอีกอย่างหนึ่ง ๒. ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด คือปฏิบัติเพื่อให้คนทั่วไปเห็นว่าตนปฏิบัติเคร่งครัดกว่าใคร ๆ ๓. ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธเจ้า และพระสาวกด้วยกัน ไม่อำพรางความในใจ ไม่มีแง่งอน

๓.ญายปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทางคือ ๑.ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ๒.ปฏิบัติถือความถูกต้องเป็นสำคัญ ๓.ปฏิบัติเพื่อความตรัสรู้

๔.สามีจิปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควรคือ ๑. ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพ ๒.ปฏิบัติชอบอย่างยิ่ง ๓.ปฏิบัติดีที่สุด

๕.อาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่สิ่งของคำนับ คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น ด้วยว่าสิ่งที่เรียกว่าอาหุนะ เป็นของที่ท่านใช้บูชาคุณความดีของคน เมื่อพระสงฆ์ประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นนั้น จึงควรแก่อาหุนะ คือสิ่งของคำนับ

๖.ปาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ ผู้ปฏิบัติงามเช่นนี้ เมื่อท่านไปในบ้านเมืองใด ย่อมเป็นผู้สมควรแก่การต้อนรับเหมือนการต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ พระสงฆ์อยู่ในฐานะนั้น

๗.ทักขิเณยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทำบุญ คือ พระสงฆ์ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมได้รับประโยชน์ตามที่ปรารถนา แม้การอุทิศกุศลเพื่อผู้ตาย พระสงฆ์ก็จัดเป็นทักขิไณยบุคคล คือ ควรรับทักษิณาทานนั้น ๆ

๘.อัญชลีกรณีโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือ พระสงฆ์เป็นผู้มีคุณความดีอยู่ในสันดาน ย่อมอยู่ในฐานะที่ใคร ๆ ควรแสดงความเคารพด้วยการกราบไหว้ เพราะทำให้ผู้ไหว้มีความรู้สึกว่าตนได้ไหว้ผู้ที่มีคุณธรรมสมควรแก่การไหว้ ทั้งเป็นการช่วยให้ผู้ไหว้เจริญด้วยพรทั้ง ๔ ประการ อันได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วย

๙.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่บริจาคแก่พระสงฆ์ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดำ พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์ จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย





วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

นิพพานเป็นอย่างไร?

http://youtu.be/HRh4Ot87LKE

พระไตรปิฎก ฉบับ MP3 เสียงอ่าน

http://pratripitaka.com/tripitaka-mp3/index.html

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีหาจิต หลวงปู่เทสก์

วิธีหาจิต
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
คัดลอกจาก www.manager.co.th
 
วันนี้จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิตทุกคน แต่หากเราไม่ เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไปก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มีตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึกความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก
ถ้าหากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียกว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิดจากจิตอันเดียว ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่องก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ เรื่อยไป ขันธ์ ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลงมามี ๒ อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น
ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็น
จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้ ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ ในหนังสือต่างๆ ก็ พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้นหมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาดปราศจากความคิดความนึกความปรุงความแต่งจึงเรียกว่าใจ
เรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมีไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไนแล้วเป็นของใสสะอาด เพราะ เนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ ในขณะที่เราทำความเพียรภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มัน ออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่ง สารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่
เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ เวลาตายก็ตาย เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว
ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย แท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ
อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้ พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้
(หลวงปู่อบรมนั่งสมาธิ)
บุญนั้นมีหลายอย่าง คือทำบุญอย่างหนึ่ง ทำทานอย่างหนึ่ง ทำกุศลอย่างหนึ่ง ทำทาน คือการที่เราให้ เรียกว่า “ทาน” ทานํ เทติ วัตถุสิ่งของที่เราให้ เรียกว่า ทาน ไม่ต้องเลือกว่าจะเป็นสิ่งอะไร มนุษย์สัตว์ให้ไปได้ทั้งนั้น ข้าวของอะไรก็ให้ได้ เรียกว่าให้ทาน จะเกิดศรัทธาหรือไม่เกิดศรัทธาก็เอาเถอะ ให้ทั้งนั้น อย่างคำว่าเรี่ยไรอย่างนี้ ไม่คิดถึงบุญถึงกุศล ให้ไปเสีย แก้รำคาญ อันนั้นละเรียกว่าทาน ทำบุญนั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใส ตั้งเจตนาว่าทำบุญแล้วจะได้บุญ ได้อานิสงส์ จะไป เกิดบนสวรรค์ชั้นฟ้า จะได้ความสุขในมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ การทำบุญนั้นปรารถนาผลตอบแทน เรียกว่า ทำบุญ ทำกุศล คือจิตที่จะทำสิ่งที่ดีที่ชอบ นึกถึงความดีความชอบต่างๆ เป็นกามาวจรกุศล ถ้าคิดพิจารณากัมมัฏฐาน สังขารร่างกายของเรา เรียกว่า รูปาวจรกุศล จิตที่พิจารณาอยู่ในอรูปฌาน ๔ เป็นอรูปาวจรกุศล
“โลกุตรกุศล” หมายถึงการบำเพ็ญกุศลที่ปราศจากความอยากกังวลทั้งหมด แต่ว่าทำเพื่อประดับใจของตนเท่านั้น ไม่ได้ปรารถนาอะไรเลย คือผู้ที่ถึงมรรคผลนิพพานสูงสุดแล้ว ท่านไม่มีบาปไม่มีบุญอะไรหรอก แต่ว่าทำไปเพื่อประดับในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เหตุนั้น เราทำทานแล้ว ทำบุญแล้ว แล้วก็ทำกุศลอีกคือนั่งภาวนา นี่แหละ เป็นของสูงโดยลำดับ เพราะฉะนั้น จึงพากันตั้งใจทำสมาธิภาวนาให้มันแน่วแน่ ให้จิตมันลงหนึ่ง ปล่อยวางหมดทุก สิ่งทุกอย่างในเวลานี้ ของที่ล่วงมาแล้วอย่าไปคิดนึกถึงมันเลย ส่วนอนาคตข้างหน้าก็ไม่ต้องเอามาคำนึงถึง เอาปัจจุบันเดี๋ยวนี้แหละให้แน่วแน่ลงเต็มที่ มันจะลงได้ด้วยประการใดก็ให้มันลงเถอะ
เบื้องต้น ให้มีบริกรรมภาวนาพุทโธ หรืออานาปานสติ หรือยุบหนอพองหนออะไรก็ตาม สัมมาอรหังก็ช่าง ขอให้เอาคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์ เมื่อจิตมันรวมลงไปแล้วนั่น ก็จะปล่อยวางคำบริกรรมหมด วางเอง ถึงไม่วางก็ต้องวาง กำหนดเอาความที่มันนิ่งแน่วอยู่เป็นหนึ่ง นั่นแหละ เห็นใจเรานั่นแหละเป็นของสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเห็นใจของเรานี้เป็นของเลิศประเสริฐ เป็นสิ่งที่เราจะต้องให้รู้จักเรื่องของตน ถ้าไม่เห็นเรื่องไม่เห็นใจของตนแล้ว ทำดีทำชั่วก็ไม่รู้ ทั้งนั้น

หัวใจพุทธศาสนา

ท่านพุทธทาสได้แต่งหนังสือชื่อว่า ชีวิตคืออะไร โดยท่านได้อธิบายถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้แก่กลไกการทำงานของขันธ์ทั้ง 5 ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ เห็นว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นอนัตตา แต่สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ คืออุปาทานขันธ์ ที่ทำให้คนเห็นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวกู ของกู จึงเกิดทุกข์ เมื่อไม่มีตัวกู ของกู ก็ไม่มีทุกข์
          ดังนั้น อุปาทานขันธ์ 5 หรือ ปัญจุปาทานขันธ์ จึงควรเป็นแก่น เป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ใช่หรือไม่หัวใจของศาสนาพุทธอยู่ในอริยสัจ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีพระสมณะโคดม เป็นผู้ตรัสรู้ในหลักธรรม  อริยสัจ 4 เป็นหลักของศาสนาพุทธ หากจะวิเคราะห์ว่าสิ่งใดเป็นหัวใจแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาในรายละเอียด พิจารณาดูเนื้อใน ภายใน จากอริยสัจทั้งสี่ข้อ เป็นต้นไป
อริยสัจสี่ ซึ่งประกอบด้วยสัจธรรม
          เรื่องแรก คือ ทุกข์ พระพุทธเจ้าเห็นว่า ปัญหาพื้นฐานของโลกนี้คือ ทุกข์ การเกิดเป็นทุกข์ ต้องดิ้นรนหาปัจจัย เพื่อตอบสนองความต้องการทางกายทางใจ การแก่เป็นทุกข์ ไม่ว่าแก่ขึ้นหรือแก่ลง การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์ ความกลัวตายเป็นทุกข์ ความคับแค้นใจคับข้องใจเป็นทุกข์ การได้การพบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่รัก ไม่ต้องการ สิ่งที่เราเกลียดกลัวเป็นทุกข์ การพลัดพราก สูญเสียสิ่งที่รักที่ชอบ เป็นทุกข์ การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สรุปแล้วทุกข์เป็นตัวปัญหา
          เรื่องที่สอง คือ สาเหตุของปัญหา หรือ เหตุแห่งทุกข์ เรียกว่า สมุทัย สาเหตุสำคัญได้แก่ อนิจจัง คือความไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายที่ประกอบด้วย ธาตุต่างๆมารวมกันย่อม ไม่เสถียร ต้องเสื่อมสลายหรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา กลไกของธรรมชาติสร้างให้คนเรา เพลิดเพลินในอารมณ์ จนเกิดอุปาทานยึดติดสิ่งต่างๆเหล่านั้น เป็น อัตตา เป็นตัวกูของกู เกิดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดตัณหา ความทะยานอยาก จึงเป็นทุกข์ การแก้ปัญหาคือต้องแก้ที่สาเหตุต่างๆเหล่านี้
          เรื่องที่สาม คือ การกำหนดสภาวะที่เป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องบรรลุ เพื่อพ้นจากปัญหาอันได้แก่ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เรียกว่า นิโรธ หรือ สภาวะของการดับสิ้นความทุกข์โดยสิ้นเชิง ไม่เกิดทุกข์อีก
          สุดท้าย คือ แนวทางปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมาย การพ้นทุกข์ เรียกว่า มรรค ประกอบด้วย กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติกาย ปฏิบัติใจทั้งสิ้น 8 กิจกรรมด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ จนเกิดความเห็นชอบ หรือ สัมมาทิฐิ ปฏิบัติเรื่อยไป จนถึงการเจริญสมาธิ วิปัสสนา ตามแนวทางที่ถูกต้องเป็นสัมมาสมาธิการพิจารณา อริยสัจ ทั้ง 4 เพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นแก่น เป็นหัวใจของศาสนา 

          ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือจุดเริ่มต้นของศาสนา คือศาสนาพุทธ คือแก่นแท้ เนื้อแท้ของศาสนา เป็นวิถีของชาวพุทธ ผู้ที่จะหาหัวใจของศาสนาจำเป็นต้องศึกษาจาก มรรคทั้ง 8 ข้อ เหล่านี้มรรคแปดคือ แก่นของศาสนาพุทธ
ดังที่กล่าวมาแล้ว มรรค 8 คือแก่นแท้ คือเนื้อแท้ของศาสนาพุทธ เปรียบเสมือนร่างกาย หัวใจของศาสนาจึงเปรียบเสมือน หัวใจของร่างกาย หากหัวใจหยุดทำงาน ร่างกายต้องหยุด ต้องตายภายใน 5 นาที หัวใจของศาสนาเป็นเช่นเดียวกัน หากศาสนาขาดสิ่งที่เป็นหัวใจ ศาสนาต้องหยุด ต้องดับสิ้นลงเช่นกัน เพื่อรักษาศาสนาให้เป็นไป จำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งใดเป็นหัวใจ ต้องดูแลรักษา ต้องปฎิบัติให้ถูกให้ควร การค้นหาหัวใจของศาสนาต้องค้นหาภายในกาย หรือ ในมรรคทั้งแปดข้อนั่นเอง

มรรคข้อแรก คือ ความเห็นชอบ   ต้องศึกษาให้รู้และหมั่นพิจารณาให้เข้าใจแท้ ว่าโลกนี้ ชีวิตนี้เป็นทุกข์ ทุกข์เกิดจากความไม่เที่ยง ของสังขารของธาตุทั้งหลายที่ไม่เสถียร ทุกข์เกิดจากอุปาทานขันธ์ ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตา ทุกข์เกิดจาก กิเลส ตัณหา ภายในกาย ภายในใจ แล้วกำหนดจิตให้ รู้สึกเกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์และ รู้สึกต้องการ พ้นทุกข์ตามวิถีของชาวพุทธ เหล่านี้ คือความเห็นชอบ หรือ สัมมาทิฐิ
มรรคข้อที่สอง คือ การดำริชอบ เมื่อเกิดความเห็นชอบ ต้องการพ้นทุกข์   ต้องริเริ่มการกระทำอย่างง่ายๆก่อน ง่ายที่สุดคือการทำใจ เพื่อ ให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ปราศจากซึ่งราคะ หรือ อยู่ในสภาวะของวิราคะ โดยพยายามระงับความครุ่นคิดหมกมุ่น ในเรื่องต่างๆ ซึ่งได้แก่เรื่องความพยาบาท หรือ ละพยาบาทวิตก โดยพยายามระงับความคิดพยาบาท ผู้ที่เคยทำร้าย ทำเวรทำกรรมกับเรา เลิกวิตกกับมัน ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้อะไร ทุกข์ใจไปเปล่า ระงับความ ครุ่นคิดหมกมุ่นเรื่องกาม หรือ ละกามวิตก เรื่องกามนี้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเพศ แต่ที่แท้จริงแล้วประกอบด้วยหลายอย่าง เช่น รูปคือสิ่งที่เห็นที่สวยงาม น่าชื่นชมน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือธรรมชาติรอบตัว รสของอาหารที่ถูกปาก กลิ่นที่น่าสูดดมน่าชื่นใจ เสียงคน เสียงดนตรีหรือเสียงเพลงที่เราชอบ ตลอดจนการสัมผัสที่อบอุ่นหรือที่เร้าใจ เหล่านี้เป็นเรื่องของกามาทั้งสิ้น และ สุดท้ายคือเรื่องของ วิหิงสาวิตก คือการละความคิดหมกมุ่นที่จะทำร้าย เบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น อยากทรมาน อยากซาดิสท์ การดำริหรือริเริ่มในการละวิตกต่างๆเหล่านี้ หมายความว่าเรา คิดได้ แต่อย่าคิดหมกมุ่น ให้รีบตัดออกจากใจ ทันทีที่ได้รู้สึกตัว หากฝึกทำขั้นนี้ได้สมองจะปลอดโปร่ง จิตใจสงบ สบายขึ้น เป็นการควบคุมใจ โดยการควบคุมความคิดอย่างง่ายๆ คือ การดำริชอบ หรือ สัมมาสังกัปปะ
มรรคข้อที่สาม คือการเจรจาชอบ หรือ วาจาชอบ เป็นการฝึกควบคุม หรือฝึกบังคับใจ โดยวิธีการสำรวมคำพูด กำหนดว่าสิ่งใดควรหลีกเลี่ยงไม่ควรพูด อย่างแรกคือการไม่พูดโกหก อย่างที่สอง คือการไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเรื่องเลวเรื่องร้ายของผู้อื่น อย่างที่สาม การไม่พูดหยาบคาย และ เรื่องที่สี่คือการไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ซึ่งสามเรื่องแรกคือ การพูดโกหก การพูดส่อเสียด และการพูดหยาบคาย คนเราพูดสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตัวเอง ไม่ว่าเป็นประโยชน์ทางกายหรือทางใจ เป็นการเสริมสร้างกิเลส เสริมสร้างอัตตา ให้กับตน การระงับใจไม่ให้พูด เป็นการฝึกในการระงับ กิเลส ตัณหา ลด อัตตา ตัวกูของกู ลงได้ส่วนหนึ่ง ส่วนการไม่พูด เพ้อเจ้อ นั้นเป็นการควบคุมใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ให้คิดแต่สิ่งที่เป็นธรรมะ เป็นประโยชน์ เหล่านี้คือ วาจาชอบ หรือ สัมมาวาจา
มรรคข้อที่สี่ คือ การกระทำชอบ หลังจากเรา ควบคุมความคิดความวิตก ควบคุมวาจาควบคุมคำพูดได้แล้ว ต้องเริ่มปฏิบัติจริงจัง คือเริ่มการกระทำที่เป็นรูปธรรม สิ่งแรกคือ การควบคุมทั้ง กาย วาจา และ ใจ ไปพร้อมกัน ได้แก่การถือศีล เริ่มตั้งแต่ศีล 5 ที่เป็น การถือศีลขั้นต้นของฆราวาส ได้แก่การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ที่ล้วนทำเพื่อสนองตัณหาสนองอัตตาของตน หรือ ตัวกู การไม่ลักขโมย ไม่หวังลาภที่ไม่ควรได้ ไม่ละโมภ ไม่ยึดติดกับสิ่งของ หรือ ของกู การไม่ประพฤติผิด หลงมัวเมาในกาม รูป รส กลื่น เสียง สัมผัส ซึ่งเป็นการระงับ กิเลส และ ตัณหาในระดับหนึ่ง การไม่พูดเท็จ พูดเสริมสร้างอัตตาตัวกู สุดท้ายคือ การละเว้นการดื่มของมึนเมา ซึ่งทำลายร่างกาย ทำลายประสาทสมอง ทำให้ ความคิด ปัญญา ตลอดจนสติสัมปชัญญะ บกพร่องพิการ นอกจากถือศีล 5 แล้วยังต้องถือศีลมากขึ้นไปเป็นศีล 8 ศีล 10 จนกระทั่งถึงวินัย ทั้ง 227 ข้อของพระสงฆ์ การถือศีลทั้งหลายจึงนับว่า เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมขั้นแรกในการปฏิบัติธรรม นอกจากการถือศีลแล้ว มรรคที่เหลืออีกทั้ง 4 ข้อ ต่อจากนี้ถือเป็นการกระทำชอบ หรือ สัมมากัมมันตะ ทั้งสิ้น

มรรคข้อที่ห้า คือ การประกอบอาชีพ การยังชีพ หรือ การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่การประกอบอาชีพหรือมีวิถีทางยังชีพตามแบบแผนที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การพ้นทุกข์ ยกตัวอย่างง่ายๆคือการยังชีพเช่นพระสงฆ์ที่เป็นพระแท้พระจริง เป็นพระอาชีพ ไม่ใช่อาชีพพระ เช่น หลวงพ่อเกษมเขมโก ที่จังหวัดลำปางเป็นตัวอย่างที่ดีของพระสงฆ์ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ กินน้อย กินเพื่อเหตุผลเพียงเพื่อดำรงชีวิตดำรงสติและปัญญาเท่านั้น ไม่ลุ่มหลงในรสอาหารกินจน เกินความจำเป็นจนร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ เมื่อร่างกายสมบูรณ์มากมักเกิดกำหนัดกามตัณหามากควบคุมได้ยาก ออกจากนี้ยังต้องละอุบายหรือหลุมพราง สำคัญที่ทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น นั่นคือความเป็นเจ้าของ ต้องละซึ่งความเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ ไม่มีสมบัติติดตัว หรือมีเท่าที่จำเป็น พออยู่ พออาศัย ละทิ้งแม้แต่ชื่อตัวเอง บริจาคทาน ถือศีลบำเพ็ญภาวนา เป็นกิจวัตร เหล่านี้คือ การประกอบอาชีพชอบ หรือ สัมมาอาชีวะ
มรรคข้อที่หก คือ ความเพียรชอบ ต้องมีความมานะพยายาม ละหลีกเลี่ยงการทำสิ่งที่เป็นอกุศล พยายามปฏิบัติธรรม สร้างกุศล สิ่งสำคัญคือต้องทำแต่เพียงพอดี พอดี โดยยึดหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ไม่มากไป ไม่น้อยไป ไม่ยาวไป ไม่สั้นไป ไม่นานไป ไม่เร็วไป ไม่หยาบไป ไม่ละเอียดไป ไม่หนักไป ไม่เบาไป ทำเพียงพอดี พอดี จุดพอดีของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ต่างๆ คนต้องหาความพอดีของตัวเอง จะเอาความพอดีของตัวไปแนะนำ ไปวัดไปเทียบกับคนอื่นไม่ได้ เหล่านี้ คือ ความเพียรชอบ หรือ สัมมาวายามะ
มรรคข้อที่เจ็ด สติชอบ คือมีสติ ตั้งสติรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก หรือ อาณาปาณะสติ เมื่อใดที่รู้สีกตัวว่ากำลังหายใจอยู่ เมื่อนั้นก็มีสติ และใช้สติเฝ้าระวังผลกระทบ ทางกายทางใจสี่เรื่อง หรือ สติปัฎฐานสี่ ได้แก่กายยานุสติ คือการตั้งจิตรู้ตัวหรือรับรู้ให้ได้เร็วที่สุด ว่ามีสิ่งใดมาสัมผัสกาย มีสิ่งใดมาสัมผัสใจ เวทนานุสติ คือการตั้งสติรู้ตัวหรือรับรู้ให้ได้เร็วที่สุดว่า กำลังสุขกายสุขใจ หรือทุกข์กายทุกข์ใจ มี ปิติ ปราโมทย์หรือไม่อย่างไร จิตตานุสติ คือการตั้งสติรู้ตัวหรือรับรู้ให้ได้เร็วที่สุดว่า ขณะนั้น สภาวะจิตเป็นอย่างไร เฉยๆ หดหู่ หรือ ลิงโลด เป็น กามาวะจร มุ่งฝักใฝ่เรื่องกาม หรือ เป็นกุศล ใฝ่ธรรม หรือ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ธรรมมานุสติ คือการตั้งสติรู้ตัวหรือรับรู้ให้ได้เร็วที่สุดว่า สิ่งต่างๆที่รับรู้รับสัมผัสทางกายทางใจ กายานุสติ และสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในใจ เวทนานุสติ จิตตานุสติ เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร กลไกของร่างกาย ของชีวิต คือขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ทำงานกันอย่างไร ตั้งสติรู้ตัวหรือรับรู้ให้ได้เร็วที่สุดว่า สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องของธรรมชาติ เช่น เมื่อถูกตี ก็ต้องเจ็บ เป็นธรรมดา เมื่อแล้วเจ็บกายยังไม่พอ ยังเจ็บใจตามมาอีก ก็เป็นธรรมดาเช่นกัน เมื่อเจ็บใจแล้วยังไม่พอ ก็เกิดพยาบาทเคียดแค้นเป็นทุกข์อีก ก็เป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ เป็นอนัตตา หากมีสติรู้ตัวอย่างนี้ได้ ขอให้พยายามตัดตอนไม่ให้เกิดทุกข์ และ คอยระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุอีกในคราวหน้าคราวต่อไป เหล่านี้ คือ สติชอบ หรือ สัมมาสติ
มรรคข้อที่แปด ข้อสุดท้าย คือ สัมมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิชอบ สมาธิคือการทำจิตให้เป็นหนึ่ง โดยใช้การวิตก และวิจาร คือ การเพ่งพินิจมุ่งที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ประกอบกับการรักษาอารมณ์ให้คงที่ให้สม่ำเสมอ จนกระทั่งถึงสภาวะจิตที่เรียกว่า ฌานสมาบัติ จะเกิดปิติ สุข มีนิมิตต่างๆ และมีความสามารถทางจิตซึ่งเป็นจุดที่อันตรายที่สุดของชาวพุทธ ถ้าหากหลงไปดีใจ หันไปหลงไหลกับอำนาจจิตที่เกิดขึ้น ใช้สมาธิในทางที่ผิด ดูหมอ ใบ้หวย เห็นนรก เห็นสวรรค์ สร้างเครื่องรางของขลัง นับเป็นอวิชชา ไม่ใช่สัมมาสมาธิ ที่ถูกต้องหรือ เป็นสัมมา คือเมื่อถึงฌานแล้ว จะสามารถระงับ วิตก วิจาร ที่เราใช้เป็นเครื่องมือในการทำสมาธิ เกิดปิติ สุข ให้ใช้หลักของอุเบกขา ระงับ ปิติ สุข ที่เกิดขึ้น เกิดนิมิต อย่าหลงใหล ให้ใช้สติซึ่งเป็นสติที่บริสุทธิ์ พิจารณา ให้ใช้ สติปัฏฐานทั้ง 4 พิจารณาธรรม ให้เห็นธรรม อย่างนี้นับเป็นสัมมาสมาธิหัวใจของศาสนาพุทธ
หากเปรียบศาสนาเช่นชีวิต เมื่อมีการเคลื่อนไหวมีการปฏิบัติ คือมีชีวิต เมื่อไม่มีการปฏิบัติ ไม่มีการเคลื่อนไหว คือ ตาย คือ ไม่มีชีวิต ดังนั้น ในบรรดามรรคทั้ง 8 ข้อ สัมมากัมมันตะ หรือ การกระทำชอบ การกระทำตามวิถีของชาวพุทธ ได้แก่การเลี้ยงชีพ การรักษาศีล การมีสติ การทำสมาธิภาวนา เป็นสิ่งที่ทำให้ศาสนาเคลื่อนไหว หากไม่มีการกระทำหรือปฏิบัติตามกล่าว ศาสนาย่อมหยุดนิ่งคือตายไป หรือชาวพุทธ ที่หยุดปฏิบัติ ย่อมนับไม่ใช่ชาวพุทธ หรือตายจากศาสนาพุทธ กล่าวโดยย่อ ตราบใดที่ยังมีการปฏิบัติธรรม ตามหลักของศาสนาพุทธ ตราบนั้นศาสนาพุทธก็ยังคงมีอยู่ การปฏิบัติธรรม เริ่มจาก ศีล สมาธิ สติ และปัญญาตามลำดับ โดยมีการถือศีล เป็นพื้นฐานขั้นต้น และเป็นพื้นฐานทีสำคัญ เป็นการควบคุมการกระทำทั้งทางกาย วาจา และ ใจ ไปพร้อมๆกัน หากไม่ถือศีลแล้วย่อมปฏิบัติธรรมข้ออื่นๆต่อไปได้ยาก หรือผิดทิศ หลงทาง ดังที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ พระสงฆ์ที่นุ่งเหลืองห่มเหลืองอยู่วัด แต่ไม่ถือศีล เราจะนับว่าเป็นพระหรือไม่ คนธรรมดาอ้างว่าถือศาสนาพุทธ แต่ไม่รับศีลห้า ยังนับว่าเขาเชื่อฟัง คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ดังนั้น ศีลคือการปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ ศีล 5 เป็นข้อกำหนดสำหรับอริยสาวก ศีลปาติโมกข์ เป็นข้อกำหนดสำหรับพระสงฆ์ ศีลจึงเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ เมื่อหัวใจทำงาน หรือรักษาศีลได้แล้ว กลไกต่างๆของร่างกาย ของศาสนา สมาธิ สติ ปัญญา จึงจะทำงานได้อย่างถูกต้องตามหน้าที่ หากไม่มีใครถือศีล ถึงปฏิบัติอย่างไรก็ไม่ใช่พุทธ หากถือศีลแล้วแต่ไม่ปฏิบัติธรรมข้ออื่น อีกเรายังนับเป็นพุทธได้บทสรุป พระพุทธเจ้าได้แสดง พระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว นับเป็นการประกาศศาสนาพุทธครั้งแรกในโลก มีหลักสำคัญของศาสนา 4 ข้อ คือ อริยสัจ 4 ในหลักอริยสัจทั้งสี่ อริยสัจข้อสุดท้ายคือ มรรค หรือ มรรค 8 เป็นวิถีทางที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และสั่งสอนให้ผู้คนนำไปปฏิบัติผู้ที่ปฏิบัติตามถือได้ว่าเป็นชาวพุทธ เมื่อมีผู้ปฏิบัติสืบเนื่อง มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธก็ยังคงอยู่ ยังไม่ตายในมรรคทั้งแปดนั้น สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ เป็นการปฏิบัติ ที่เห็นได้เป็นรูปธรรม ประกอบด้วยศีล สมาธิ สติ และปัญญา โดยมีการถือศีลเป็นพื้นฐานขั้นต้น และ เป็นปัจจัยสำคัญ ในการปฏิบัติธรรม ตามหลักของศาสนาพุทธ การกำหนดว่า ใครเป็นพระในศาสนาพุทธ ให้ดูที่การถือ อุโบสถศีล และ ศีลปาติโมกข์ การกำหนดว่า ใครเป็นชาวพุทธให้ดูที่การถือศีล 5 ศีลเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ขั้นแรกที่ทำได้ง่ายที่สุด คือการละเว้นไม่ทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าห้าม ผู้คนที่เรียกตัวเองว่า ชาวพุทธแต่ไม่ถือศีล ไม่ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ยังเรียกได้ว่า นับถือศาสนาพุทธ นับถือพระพุทธเจ้าหรือไม่สรุปแล้ว ศีลคือการปฏิบัติ ที่เป็นเบื้องต้น ที่ปฏิบัติ ได้ง่าย ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด ในศาสนาพุทธ หากไม่มีใครถือศีล ถึงปฏิบัติอย่างไรก็ไม่ใช่พุทธ ศาสนาพุทธก็จะหยุดก็จะจบสิ้นลงไป การรักษาศาสนาไว้ให้อยู่คือ การทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือการรักษาศีล ศีลจึงเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ สมควรชักชวนกันเผยแพร่ให้ผู้คนถือศีลเป็นกิจวัตร เพื่อให้ศาสนาพุทธคงอยู่สืบไป

สรุปรวบยอดคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพจิตให้สูงยิ่งขึ้น
แนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพจิตให้สูงขึ้น
1.รู้เท่าทันอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
ทุกข์ของมนุษย์เกิดจาก ความคิด ฉะนั้น ถ้าจะหยุดทุกข์ก็ต้องหยุดคิด การหยุดความคิดในที่นี้คือ การหยุดคิดในสิ่งที่เศร้าหมองในอดีต และหยุดกังวลถึง เรื่องในอนาคตที่ยังมามาถึง โดยการเฝ้ามองดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งอารมณ์สุข ทุกข์ หรืออารมณ์เฉย ๆ อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะช่วยให้จิตกลับเข้าสู่ความเป็นกลางและเกิดความสงบ และเมื่อจะเริ่มคิดก็ให้เลือกคิดแต่สิ่งที่ดี ๆ มีประโยชน์และสร้างสรรค์ มนุษย์ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่า ตัวเองกำลังถูกความคิดลากไปเรื่องแล้วเรื่องเล่า หรือรู้ว่ากำลังคิด แต่ไม่รู้จักเลือกเรื่องที่คิด เพราะคิดเรื่อง เศร้าหมอง จนเป็นนิสัย หรือรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้น ก่อให้เกิดความทุกข์ แต่ไม่สามารถพาตัวเอง ออกจากความคิดเหล่านั้นได้ เพราะไม่มีกำลังสมาธิเพียงพอ
2. นิ่งก่อนจิตจึงจะคิดได้
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า มนุษย์อาจจะรู้ว่า สิ่งที่ตนเองคิดอยู่นั้นก่อให้เกิดทุกข์แต่ไม่รู้ว่าจะออกจากกองทุกข์นั้นได้อย่างไร หรือขณะที่กำลังขบคิดแก้ปัญหา แต่คิดเท่าไรก็คิดไม่ออก ก่อให้เกิดความสับสน และว้าวุ่นเป็นอย่างมาก เมื่อจิตเกิดความไม่สงบด้วยนิวรณ์ ๕ อันประกอบด้วย ความอยากมีอยากเป็นอยากได้ ความไม่อยากมีไม่อยากเป็นไม่อยากได้ การหมกมุ่นในกามตัณหา ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้น ความเบื่อหน่ายเซ็งชีวิต ความฟุ้งซ่านสับสน และความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ จิตจะไม่มีสมาธิ ไม่มีความสงบ สภาวะจิตเช่นนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เรายิ่งทุกข์และยิ่งแก้ไขปัญหาไม่ออกเหมือนเดิม หรืออาจจะมีปัญหอื่นตามมาอีก เป็นทวีคูณ ฉะนั้น วิธีการที่ดีที่สุดที่จะแก้ไขปัญหานี้คือ การหยุดคิดและให้ลืมปัญหา ลืมตัวเอง ลืมทุกสิ่งทุกอย่างไปชั่วขณะหนึ่ง โดยการสวดมนต์ หรือ ทำสมาธิโดย การจดจ่ออยู่กับลมหายใจ โดยไม่คิดเรื่องอื่น จิตจึงจะมีเริ่มมีพลัง สภาวะจิตนี้ เองจึงจะเหมาะแก่ การนำไปขบคิด เพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อออกจากกองทุกข์ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ
นอกจากนั้น ในสภาวะปกติ เมื่อไม่มีความทุกข์ใด ๆ ก็ให้หมั่นสวดมนต์ ทำสมาธิและให้นำพลังสมาธินี้ ไปใช้เพื่อเฝ้ามองดู อารมณ์ใน ชีวิตประจำวัน และฝึกความรู้เนื้อรู้ตัวในทุก ๆ อิริยาบถ เพื่อทำลายนิสัยเก่า ๆ ที่เคยชินกับความคิดเดิม ๆ ที่เศร้าหมองและสับสน และสร้างนิสัยใหม่ ในการเลือกความคิด คิดแต่ในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อไป
3. พูดทีละคำฟังทีละเสียง
คนส่วนใหญ่มักไม่ได้ยินเสียงที่ตัวเองพูด ไม่รู้ว่าตนเองกำลังพูดอะไร พูดไปทำไม พูดแล้วจะเกิดอะไร พูดและไม่พูดผลต่างกันอย่างไร สักแต่ว่าพูด ๆ ไป ตามความคิดที่ผุดขึ้นมาตาม ความเคยชิน ฉะนั้น มนุษย์จึงมักชอบพูดเพ้อเจ้อ พูดนินทา พูดส่อเสียด พูดคำผรุสวาท พูดโกหกจนเป็นนิสัยโดยที่ไม่รู้ตัว การพูดโดยขาดสติ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่มีความรู้สึก ในขณะที่พูดนั้น ย่อมให้เกิดความทุกข์ และความเศร้าหมองใจ โดยที่เราแทบจะไม่รู้ตัว ฉะนั้น วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดคือแก้ไขที่ต้นเหตุคือ ให้คิดก่อนพูดและต้องได้ยินในสิ่งที่ตนเองกำลังพูดออกมา
4. ทำจิตใจให้ผ่องใสและสบาย
การเพียรพยายามประคับประคองจิตใจให้มีความผ่องใสเบิกบานนั้น มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
1. รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ก่อนเพื่อทำให้จิตสามารถตั้งอยู่ได้การผิดศีล
ข้อหนึ่งคือ การฆ่าสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตหรือการรังแกให้เกิดความเดือดร้อนจะทำแต่ความโหดเหี้ยม หยาบกระด้าง ไร้ความรู้สึก ข้อสองคือ การลักทรัพย์และ
ข้อสามคือ การประพฤติผิดในกาม นอกใจสามีภรรยาหรือแม้แต่คู่รักของตน ไร้ซึ่งความสงบในจิตใจ
ข้อที่สี่คือ  การพูดเท็จ การพูดคำหยาบ การพูดส่อเสียด และการพูดเพ้อเจ้อ การพูดมากโดยขาดสติจะทำให้จิตใจฟุ้งซ่านขาดความสงบ ข้อที่ห้าคือ การดื่มสุราหรือของมึนเมา จะทำให้ขาดสติ และขาดความยับยังชั่งใจ สามารถก่ออกุศลกรรมมากมาย ขาดความสงบ
2. มีสติรู้เท่าทันสภาวะจิตของตนเองว่า ในขณะนี้เรากำลังทุกข์ทรมานอึดอัด หรือผ่องใสเบาสบาย
3. มีสมาธิเพื่อใช้ในการมองและรู้เท่าทันสภาวะจิตอย่างต่อเนื่อง
4. ใช้ปัญญาในการข่มจิตเพื่อประคับประคองจิตในกรณีที่จิตในเกิดการปรุงแต่งจนเกิดเป็นอารมณ์เช่น ความโกรธ ความเศร้า ความยินดี 
5. รู้จักและเข้าใจระบบความคิดของตนเองในเรื่อง นิวรณ์ ๕
ในขณะที่เราพยายามประคับประคองจิตใจให้ผ่องใสอยู่นั้น พยายามเท่าไรก็ไม่ผ่องใส ให้พิจารณาสาเหตุของความไม่ผ่องใสนั้น ๆ ซึ่งมักหนีไม่พ้นเรื่อง นิวรณ์ ๕ ได้แก่
1. ความอยากมีอยากเป็นอยากได้และกามตัณหา
ผู้ที่หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาความสุขเพื่อตอบสนองความสุขทางกายวาจาและใจเช่น การอยากมองสิ่งที่สวยงาม รับประทานอาหารที่มีรสอร่อย และได้ยินเสียงที่ไพเราะ เป็นต้น และรวมไปถึงการหมกมุ่นในกามราคะด้วย วิธีแก้ไขอาการหมกมุ่นดังกล่าวคือ การสวดมนต์ไหว้พระทำสมาธิและหัดถามตัวเองว่า ถ้าเรายังคงหมกมุ่นอยู่กับสิ่งพวกนี้ไปเรื่อย ๆ ต่อไปในอนาคต ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร เราจะมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง หรือในกรณีที่อกหักให้พิจารณาว่า สิ่งไหนเป็นของเราก็เป็นของเรา อันไหนไม่ใช่ก็ไม่ใช่ และไม่ควรคิดทำร้ายตัวเอง เราต้องหัดรักตัวเองก่อนเพราะถ้าเรารักตัวเองไม่เป็นแล้วเราจะรักผู้อื่นเป็นได้อย่างไร
2. ความโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาท
การที่เรามีความอึดอัดโกรธเกลียดอยู่เป็นประจำ จะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม และด้วยนิสัยโกรธง่ายนี้จะทำให้เราเป็นที่น่ารังเกียจต่อคนรอบข้าง การทำงานในยุคปัจจุบันจำเป็นจะต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม หากเราไม่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ แล้วเราจะประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตได้อย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อเกิดความอึดอัดไม่สบายใจ ให้ลองย้อนกลับมาดูตัวเองบ้างว่า เรามีส่วนอะไรบ้างกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเช่น การการทะเลาะเบาะแว้งที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะเราพลั้งปากไปว่าอีกฝ่ายหรือเปล่า หรือเราพูดมากเกินไปจนอีกฝ่ายรู้ความลับและนำความลับดังกล่าวมาหักหลังจนเกิดเป็นเรื่องราวบานปลาย หรือเราอาจจะชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นิดนึงก็ไม่ได้นิดนึงก็ไม่ยอม ไม่รู้จักปล่อยวาง เป็นต้น เมื่อมีความหงุดหงิดใจให้พิจารณาถึงสาเหตุ เพราะสิ่งต่าง ๆ ในโลกล้วนเกิดแต่เหตุ ซึ่งมักมี “เรา” เข้าไปมีส่วนร่วมเสมอ แต่เรากลับมองไม่ออกเพราะเรามักกล่าวโทษผู้อื่นก่อนเมื่อมีหายนะหรือความอึดอัด เศร้าหมองต่าง ๆ เกิดขึ้นกับเรา
3. ความเบื่อหน่ายเซ็งชีวิต
วิธีแก้ไขคือ ให้ถามตัวเองว่า ก่อนจะจากโลกนี้ไปเราอยากทำประโยชน์อะไรให้แก่สังคมและเพื่อนมนุษย์บ้าง และเราอยากให้คนข้างหลังจดจำตัวเราได้ในลักษณะใด แล้ว ณ วันนี้เราลงมือทำแล้วหรือยัง
4. ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
ผู้ที่มีความฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ จะพูดไม่หยุดและมีคิดผุดขึ้นมาในใจตลอดเวลา อารมณ์ไม่คงที่ คิดในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา ชอบจับผิดผู้อื่น ไม่มีความรู้สึก ไม่มีความสงบและสบายใจ ขยันแต่ไม่ตรงจุด เป็นเจ้าความคิดแต่คิดไม่ตรงประเด็น วิธีแก้ไขคือ พยายามควบคุมความคิดโดยการ
  • ฝึกสมาธิแบบอาณาปาณสติหรือการทำสมาธิโดยการจดจ่อกับลมหายใจเข้าออก เพื่อลดระดับความคิดให้ลดลงในระดับหนึ่ง
  • หลังจากทำสมาธิแล้วให้ฝึกดูอารมณ์ตลอดเวลาสุข-ทุกข์-เฉย เพื่อฝึกให้จิตมีความรู้สึก ความคิดจึงจะเปลี่ยนรูปแบบเอง คนที่ฟุ้งซ่านจะฟุ้งน้อยลง คนที่โหดร้ายจะมีเมตตามากขึ้น
  • แม้ว่าจะพยายามทำสมาธิหรือดูอารมณ์แล้ว ก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ให้ใช้ความคิดกล่อมจิตเช่น ให้ถามตัวเองว่า “การที่คิดมาก ๆ มันดีจริงหรือ ถ้ามันดีจริงแล้ว ทำไมชีวิตเราไม่เห็นดีขึ้นเลย” “คิดเยอะแยะแต่ไม่เห็นจะตรงประเด็น นี่หรือคือความคิดที่ดี” หรือถ้าเรากำลังจะคิด ในแง่ลบให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ถ้าจะคิดก็ให้คิดแต่สิ่งที่ดี คิดแต่สิ่งที่ทำให้เรามีความสุข คิดแต่ในสิ่งที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น” เป็นต้น
  • ถ้าจะคิดให้คิดเป็นภาพ ความฟุ้งซ่านจะน้อยลง
5. ลังเลสงสัย
ผู้ที่มีความลังเลสงสัยจะมีความสับสนและไม่มั่นใจอยู่ตลอดเวลา ไม่กล้าที่จะลงมือกระทำเพราะกลัวความผิดพลาด กลัวความผิดหวัง กลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้ และกลัวว่าสิ่งนี้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง วิธีแก้ไขคือ
  • อย่าโลภมากนัก ไม่มีสิ่งไหนที่ดีที่สุดในโลกนี้ แต่จงเลือกทำในสิ่งที่จะสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ตนเองและผู้อื่นให้น้อยที่สุด
  • คิดเป็นภาพ การคิดเป็นภาพจะทำให้เราเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากทั้งสองเหตุการณ์ที่เรากำลังสับสนและลังเลสงสัยอยู่ เมื่อสร้างภาพแล้วให้ถามความรู้สึกว่า การตัดสินใจอันไหนเราทำแล้วเราสบายใจและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นน้อยที่สุด นั่นแหละคือทางออก
  • กล้าที่ลงมือกระทำ อย่ากลัวความผิดพลาด คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาดคือคนที่ไม่เคยลงมือกระทำอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้ใจกล้าบ้าบิ่น ให้พิจารณาพอสมควร พิจารณาถึงผลที่จะเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างความเดือดร้อนแก่ตัวเราและผู้อื่นมากน้อยแค่ไหน เมื่อพิจารณาแล้วให้ “ตัดใจ” ลงมือกระทำทันที และจงตระหนักอยู่ในใจเสมอว่าชีวิตนี้ไม่ได้ยาวมากนัก และจงอย่ากลัวการผิดพลาด การเสียใจและการได้เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดก็ยังไม่น่าเสียดายและน่าเสียใจเท่ากับการที่เราไม่ได้แม้แต่จะลงมือกระทำใด ๆ เลย
  • อย่าทำในสิ่งที่ตัวเองอึดอัดหรือทำในสิ่งที่คนอื่นเดือดร้อน
  • ฝึกสมาธิแบบอาณาปาณสติและเฝ้ามองดูอารมณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปริมาณความคิดที่สับสนและงงงวย ยิ่งมีสมาธิ ความลังเลสงสัยก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย
ท้ายสุดของบทรวบรวมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ
กุศลต้องสร้าง
อกุศลกรรมให้บรรเทา
และพยายามประคับประคองให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ
 

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธ .หลวงปู่ดูลย์

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธ http://www.nkgen.com/13.htm,
วิธีเข้าถึงจิตหนึ่งเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=34049,ประวัติ
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) จาก บล๊อก OKnation https://sites.google.com/site/xsitimhasawk80xngkh/
พระอรหันต์ พระอสีติมหาสาวก 80 องค์ http://www.youtube.com/watch?v=o-ZUiInpns&feature=plcp,
วิธีดูพฤติจิตของตัวเราเอง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C,ขันท์

 

  1. ท่านที่จะได้นิพพานได้ เฉพาะเทวดาหรือพรหมหรือมนุษย์เท่านั้นใช่ไหม สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่า การที่ไปนิพพานได้ไปได้หมด คือ พรหมก็ไปนิพพานได้ เทวดาก็ไปนิพพานได้ มนุษย์ก็ไปนิพพานได้ สัตว์ก็ไปนิพพานได้
  2. ดู ห่าง ห่าง อย่าให้ อารมณ์ที่กระทบ...ครอบงำจิต...ดูตอนตื่นนอนประมาณตีสาม..พอเริ่มฝัน.. ให้..ลุกขึ้นเดิน...ทันที...เดี๋ยวก็เจอ..พญามารตัวจริง....เรานี่เอง .....นึกว่าใคร..
  3. " จิตเกิด สรรพสิ่งเกิด จิตดับ สรรพสิ่งสิ่งดับ "
  4. นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด
  5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑. พวกภิกษุจักเจริญอนิจจสัญญา... ๒. ...อนัตตสัญญา... ๓. ...อสุภสัญญา... ๔. ...อาทีนวสัญญา... ๕. ...ปหานสัญญา ๖. ...วิราคสัญญา... ๗. พวก ภิกษุจักเจริญนิโรธสัญญา อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
  6.  ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว.
  7. พุทธอุทาน ผู้ให้ทาน ย่อมเพิ่มพูนบุญ ผู้สำรวม (ในศีล) ย่อมไม่ก่อเวร ส่วนผู้ฉลาด ย่อมละบาปได้ เพราะสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ ผู้นั้นจึงชื่อว่าปรินิพพานแล้ว จุนทสูตรที่ ๕ จบ
  8. พุทธอุทาน ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ มีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีปฐวีธาตุ ไม่มีอาโปธาตุ ไม่มีเตโชธาตุ ไม่มีวาโยธาตุ ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ทั้งสองนั้น
  9. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกอายตนะนั้นว่า มีการมา มีการไป มีการตั้งอยู่ มีการจุติ มีการอุบัติ อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีอารมณ์ยึดเหนี่ยว นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๑ จบ
  10. ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
  11. พุทธอุทาน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จักไม่มี ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
  12. ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ ฉะนั้น จึงปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๓ จบ
  13. ข้าพระพุทธเจ้า จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือ จักไม่ตามทัน "ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักแลไม่เห็น" เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ปัญหาของโมฆราชมาณพ จบลงแล้วโมฆราชมาณพ พร้อมด้วยชฎิลทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นอาสวกิเลสทุกคน
  14. คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อลดละกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย เพื่อความสันโดษ เพื่อความไม่คลุกคลี เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา เป็นไปเพื่อวิมุตติความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อวิมุตติญาณทัสสนะความเข้าใจในพระนิพพาน
  15. ท่านบอกหายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ ยืนอยู่ก็รู้ เดินอยู่ก็รู้ บางทีใช้คำว่ารู้ชัดก็มี เดินอยู่ก็รู้ชัด นั่งอยู่ก็รู้ชัด คำว่ารู้คืออะไร รู้ที่ท่านพูดมีความหมายนะ มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ นะสอน จิตใจเป็นกุศลก็รู้ จิตใจมีความโลภก็รู้ มีความโกรธก็รู้ มีความหลงก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ สังเกตให้ดีนะ มีแต่คำว่า 'รู้' เต็มไปหมดเลยในสติปัฏฐาน จิตมีนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์ก็รู้ รู้ชัด มีพยาบาทนิวรณ์ก็รู้ เห็นไหม จิตมีอะไรต่ออะไรขึ้นมา 'รู้' ท่านสอน
  16. ก่อนท่านนอนหลับไปในคืนนี้ ขอจงตั้งดวงฤดีไว้ให้มั่น คิดถึงกุศล ผลแห่งดีที่ผูกพัน จิตตั้งมั่น แน่วแน่แล้วแผ่ไป แผ่เมตตา ทั่วไปให้คนอื่น ทั้งรักชื่นเกลียดชังแต่ครั้งไหน ขอให้เขาได้ดีมีสุขใจ อย่าหวั่นไหวแม้อมิตรที่คิดชัง แล้วใจเราจะสบายคลายเร่าร้อน เพราะจิตผ่อนความเครียดแต่หนหลัง อนีฆา สุขี อัตตานัง ห่างทุกขังด้วยเพราะจิต คิดดีเอย
  17. หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม­่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอย­ู่จริงสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเส­ียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแ­ล้ว และพฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว
  18. "ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ครั้งนั้นเรากำหนดเห็นแสงสว่างไ­ด้ แต่ครั้งแรกยังไม่เห็นรูป (เทวดา) ทั้งหลาย เราจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเราพึงกำหนดเห็นแสงสว่างได้ด­้วย และเห็นรูป(เทวดา) ทั้งหลายได้ด้วย ญาณทรรศนะของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ­่งขึ้น""ดังนั้น ในเวลาต่อมาเราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นแสงสว่างด้วย และเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย
  19. จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้านซึ่งไม่อาจจะหยั่งหรือวัดได้
  20. แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปป์หนึ่ง เต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่าถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวาย เพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธ ก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้คือ พุทธ นั่นเอง และ พุทธ ก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่งๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่
  21. จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหา พุทธภาวะ จากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นเองทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต
  22. จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัดเหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น
  23. พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย 
  24. เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกันไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากความเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขต หรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปไหนได้เลย
  25. จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวง ทุกชนิดไม่มีหยุด

ความแตกต่างระหว่างสมถะ และวิปัสสนา

ความแตกต่างระหว่างสมถะ และวิปัสสนา
๑. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิเกิดขึ้น คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
วิปัสสนา ทำให้เกิดปัญญา รู้รูป-นาม ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปัสสนา มีรูป-นาม เป็นอารมณ์ เพราะรูป-นามมีความเกิดดับ ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ
๓. โดยหน้าที่
สมถะ มีหน้าที่ในการกำจัดนิวรณ์ ๕* ทำให้จิตมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น
วิปัสสนา มีหน้าที่ในการกำจัดอวิชชา ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสภาวธรรม ตามความเป็นจริง
๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละกิเลสโดยอาการที่ข่มไว้ เป็นวิขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละกิเลสโดยอาการขัดเกลา เป็นขณะๆเป็นตทังคปหาน
๕. ชนิดของกิเลสที่ถูกละ
สมถะ ละกิเลสชนิดกลาง คือ ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยกิเลส
๖. โดยอานิสงส์
สมถะ ทำให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลสไว้ และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา ทำให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน และเข้าถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด
สมถะกับวิปัสสนาเป็นมรรค คือเป็นอุบายหนทางดับทุกข์ เพราะว่า"วิชชากับวิมุตติ" ทั้ง ๒ นี้ จะบังเกิดขึ้นได้ก็อาศัย สมถะกับวิปัสสนา จึงเป็น "ภาเวตัพพธรรม" ว่าเป็นธรรมอันควรที่สัตว์จะต้องให้เกิดขึ้นจงได้ฯ
ปริวัฏฏ์ ๓
๑. สัจจญาณ หยั่งรู้ความจริงของอริยสัจจ ๔
๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจจ ๔
๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ ๔ แต่ละอย่างนั้น และได้ทำสำเร็จแล้ว
ปริญญา ๓
๑. ญาตปริญญา รู้แจ้งสภาวลักษณะ
๒. ตีรณปริญญา รู้แจ้งสามัญลักษณะ
๓. ปหานปริญญา รู้แจ้งด้วยการละกิเลส

"พุทโธ โลเก อุปปันโน"

ที่มาของพระคาถา "พุทโธ โลเก อุปปันโน"







ถาม : วันนั้นที่หล่อสมเด็จองค์ปฐมที่วัดสระพัง เวลาหล่อพระเขาให้ท่องคาถาอะไรนะคะ ?

ตอบ : พุทโธ โลเก อุปปันโน แปลว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก คาถานี้เกิดจากพ่อค้าที่เข้าไปในเมืองของ พระมหากัปปินะราชา สมัยก่อนนี้เวลาพ่อค้าไปค้าขายประเทศไหน ก็จะต้องเข้าไปแจ้งกับพระราชาก่อน ขออนุญาตเข้าไปทำการค้า คราวนี้ตัวเองเดินทางมาไกลหลายเมือง ก็จะได้ข่าวคราวต่างๆ มาด้วย

พอพระมหากัปปินะราชาถามพ่อค้าว่ามีข่าวคราวอะไรบ้าง ? พ่อค้าก็ตอบว่าข่าวที่สำคัญที่สุดก็คือ มี พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นแล้วในโลก พระมหากัปปินะดีใจจนสลบไปเลย จึงเขียนหนังสือให้พ่อค้าเอาไปให้พระมเหสี บอกว่าให้เบิกเงินจากคลัง เอาเงินไปเลยสามแสนกหาปณะ แจ้งพระมเหสีด้วยว่าเราจะไปบวชแล้ว แล้วก็สอบถามว่าพระพุทธเจ้าอยู่ทางทิศไหน จึงขี่ม้ามุ่งหน้าไปหาพระพุทธเจ้า บรรดาข้าราชบริพารก็ขี่ม้าตามไปบวชหมดเลย

ทางพ่อค้าก็เอาหนังสือที่มีลายพระหัตถ์ไปให้พระมเหสี พอพระมเหสีเห็นก็ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พ่อค้าก็บอกว่าท่านแจ้งข่าวสำคัญให้พระราชาทราบ ว่ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก พระมเหสีเกิดปีติขนพองสยองเกล้า บอกว่าถ้าอย่างนั้นเราให้เธอหกแสนกหาปณะ สรุปแล้ว ๒ ประโยคได้ไปเกือบล้าน..! และพระมเหสีเด็ดขาดกว่าอีก พาพวกนางสนมบริวารตามไปอีก เพื่อไปบวชบ้าง

พระมหากัปปินะควบม้าไป เจอแม่น้ำใหญ่ขวางหน้า เรือแพที่จะข้ามไปมันก็ไม่มี เพราะว่าท่านไปกะทันหันไม่มีใครจัดให้ ท่านก็ตั้งใจว่า ถ้าทิศเบื้องหน้านี้มีพระพุทธเจ้าอยู่จริง ก็ขอให้น้ำอย่าได้ท่วมเท้าม้าเลย แล้วก็ชักม้าลงน้ำไป ปรากฏว่าวันนั้นม้าวิ่งบนผิวน้ำได้ เพราะว่าท่านศรัทธาจริง พุทธานุภาพก็เลยคุ้มครองรักษาได้

พระมเหสีก็เช่นกัน บอกว่า ถ้าทางนี้มีพระพุทธเจ้าอยู่จริงก็ขออย่าให้น้ำท่วมถึงข้อเท้าม้าเลย และม้าก็วิ่งบนผิวน้ำได้เช่นกัน พอพระมหากัปปินะไปถึง ได้ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าจบเดียวเป็น พระอรหันต์ เลย

หลวงพ่อพระธรรมปริยัติเวที หรือ หลวงพ่อเจ้าคุณสุเทพ เจ้าคณะภาค ๑๕ เวลาหล่อพระท่านจะให้ภาวนาว่า พุทโธ โลเก อุปปันโน คือ พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็เลยกลายเป็นคาถาประจำตัว ถึงเวลาไปหล่อพระที่ไหนท่านก็จะใช้ พุทโธ โลเก อุปปันโน

ส่วนอาตมานี้เวลาหล่อพระจะใช้บทว่า นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปันนานัง มเหสีนัง บทของ ภาณพระ

ถาม : แปลว่าอะไรครับ?

ตอบ : นะโม เม สัพพะพุทธานัง ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงถึงซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง อุปปันนานัง มเหสีนัง ซึ่งอุบัติเกิดขึ้นแล้ว ประกอบไปด้วยศักดานุภาพอันใหญ่ยิ่ง แล้วก็จะเอ่ยนามพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ตั้งแต่ ตัณหังกะโร มหาวีโร เมธังกะโร มหายโส สรณังกะโร โลกหิโต ทีปังกะโร ชุตินธโรฯ เป็นต้น


สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔



ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...?t=2894&page=4