วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ความแตกต่างระหว่างสมถะ และวิปัสสนา

ความแตกต่างระหว่างสมถะ และวิปัสสนา
๑. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิเกิดขึ้น คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
วิปัสสนา ทำให้เกิดปัญญา รู้รูป-นาม ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปัสสนา มีรูป-นาม เป็นอารมณ์ เพราะรูป-นามมีความเกิดดับ ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ
๓. โดยหน้าที่
สมถะ มีหน้าที่ในการกำจัดนิวรณ์ ๕* ทำให้จิตมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น
วิปัสสนา มีหน้าที่ในการกำจัดอวิชชา ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสภาวธรรม ตามความเป็นจริง
๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละกิเลสโดยอาการที่ข่มไว้ เป็นวิขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละกิเลสโดยอาการขัดเกลา เป็นขณะๆเป็นตทังคปหาน
๕. ชนิดของกิเลสที่ถูกละ
สมถะ ละกิเลสชนิดกลาง คือ ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยกิเลส
๖. โดยอานิสงส์
สมถะ ทำให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลสไว้ และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา ทำให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน และเข้าถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด
สมถะกับวิปัสสนาเป็นมรรค คือเป็นอุบายหนทางดับทุกข์ เพราะว่า"วิชชากับวิมุตติ" ทั้ง ๒ นี้ จะบังเกิดขึ้นได้ก็อาศัย สมถะกับวิปัสสนา จึงเป็น "ภาเวตัพพธรรม" ว่าเป็นธรรมอันควรที่สัตว์จะต้องให้เกิดขึ้นจงได้ฯ
ปริวัฏฏ์ ๓
๑. สัจจญาณ หยั่งรู้ความจริงของอริยสัจจ ๔
๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจจ ๔
๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ ๔ แต่ละอย่างนั้น และได้ทำสำเร็จแล้ว
ปริญญา ๓
๑. ญาตปริญญา รู้แจ้งสภาวลักษณะ
๒. ตีรณปริญญา รู้แจ้งสามัญลักษณะ
๓. ปหานปริญญา รู้แจ้งด้วยการละกิเลส

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก