วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สภาวะ"นิพพาน"ตามหลักฐานในพระไตรปิฏก

"นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย
ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม(จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น 
"ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ"
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ มีคำสรุประบุชัดไว้ ดังนี้ว่า
อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ
"สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 
นิพพานและบัญญัติ
 เป็นอนัตตา
นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
"นิพพาน" จากบาลี Nibbāna ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) 

รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด 
คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป 
นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ 
อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
(วินย. ๘/๘๒๖/๒๒๔)


http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-080729085029396


ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชามโมยิทธิ
ในวิชชา มโนมยิทธิ เป็นวิชชาทาง สมถะกรรมฐาน จำต้องใช้ การพิจารณาสภาวธรรม อันเป็นหัวใจของ วิปัสสนา เข้าไปร่วมเมื่อภาวะจิตเข้าสู่สูงสุดของ สมถะ เช่นกัน ไม่เช่นนั้น ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ในหลักการนำจิตไปสู่มิติอื่นๆ นั้น ขณะที่จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวและกำลังออกจากมิติเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า ออกจากร่าง (แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ออกอย่างเด็ดขาดจริงๆ) เราไม่รู้สึกถึงร่างเดิมเราแล้ว รู้สึกได้ถึงมิติใหม่ ภพใหม่ เช่น ถอดกายทิพย์ไปสวรรค์ ก็รู้สึกเหมือนตัวเองอยู่สวรรค์แล้วจริงๆ ภาวะนี้ เทียบเท่ากับฌานสี่ ซึ่งไม่อาจบรรลุธรรมได้ ต้องเข้าใจก่อนว่าจิตไม่ได้ถอดจากกายอย่างสิ้นเชิงจริงๆ เพราะหากถอดออกไปสิ้นเชิง ก็คือ ตาย เท่านั้น จิตจะมีบางส่วนเชื่อมโยงกับร่างเดิมขณะถอดจิต ขอเรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า จิตหลัก และ จิตรอง ในขณะถอดกายทิพย์นี้ จิตรองจะรับรู้ถึงมิติอื่น และจิตหลักจะดูแลร่างกายของเรา ในวิชชาสติปัฏฐานสี่ ได้พูดในเชิงปรัชญาว่า จิตในจิต นั่นคือ มีจิตสองดวง (แท้แล้วมีดวงเดียว) แต่หลวงปู่เทสก์ จะเรียกว่า จิต และ ใจ ขอให้เข้าใจว่า ที่เราถอดกายทิพย์ไปนั้น ไปด้วย จิต (จิตรอง) ส่วน ใจ (จิตหลัก) นั้น ยังคงดูแลร่างกายเราอยู่ เราจึงยังไม่ตาย ในการจะบรรลุธรรมได้ ต้องประสานการทำงานของ จิตและใจ เข้าด้วยกัน กล่าวคือ จิตจะเห็นไตรลักษณ์ โดยไม่มี ใจ ไม่ได้ หากเห็นไตรลักษณ์ขณะถอดกายทิพย์ ออกจากร่าง คือ ไม่มี ใจ ร่วม จะตายทันที เรียกว่า ดับขันธปรินิพพาน นั่นเอง หรือ ที่เขาเรียกว่า เทวดาบรรลุธรรม คือ กายทิพย์เดิมจะสลายทันที หรือที่มารเรียกว่า วิญญาณสลาย นั่นแหละ (มารกลัววิญญาณสลายมาก) แต่สำหรับ พวกกายทิพย์ แล้ว หากจะเลื่อนภพภูมิได้ จำต้องสลายวิญญาณ ก่อน คือ กายทิพย์เดิมสลายไป แล้ว จุติใหม่ในภพภูมิที่สูงขึ้น ดังนั้น บางท่านอาจเคยแผ่ส่วนบุญให้ผี แล้วเห็นผีร่างกายสลายไปทันที จากนั้นก็กลายร่างเป็นเทวดา นั่นแหละ เขาได้เลื่อนไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดีขึ้นแล้ว หรือ หากเดินวิชชาธรรมกาย ก็จะเห็นกายที่ละเอียดลึกเข้าไปนั่นเอง คือ กายหยาบเก่า ทะลุเข้าสู่กายที่ละเอียดขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม ในวิชชา มโนมยิทธิ ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ด้วยการ ถอดกายทิพย์ เลย เพราะจิตและใจแยกขาดออกจากกัน เทียบได้กับภาวะ ฌานสี่ นั่นเอง เป็นภาวะที่ ใจ หรือ จิตหลัก ไม่รู้ไม่เห็น ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ด้วย ดังนั้น หากต้องการบรรลุธรรมด้วยวิชชา มโนมยิทธิ จำต้อง พิจารณา ไตรลักษณ์ ช่วงขณะเสี้ยววินาที ที่ กายทิพย์จะออกจากร่าง คือ พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา แม้นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ของเรา การพิจารณาเฉยๆ จิตไม่มี สติตื่นเต็มที่ คือ ไม่อยู่ในภาวะ สติตื่นเหมือนกำลังจะตาย ก็จะไม่บรรลุ คือ ได้แต่ระลึกเฉยๆ ว่า ไม่ใช่ของเรา แต่จิตไม่ตื่นตัว จิตใจจึงไม่กลับเข้าประสานกัน ไม่ทำงานร่วมกันเต็มที่ ก็จะไม่บรรลุธรรม ดังนั้น วิชชามโนมยิทธิ จะบรรลุธรรม ในเสี้ยววินาที จังหวะที่กายทิพย์ถอดออกแล้วกลับร่างเดิมฉับพลัน ด้วย สติตื่นเห็นอนิจจัง และอนัตตา นั่นเอง เช่น ถอดออกแล้ว ตกใจ เห็นว่าตนจะตาย วิญญาณออกจากร่างแล้ว จิตรองหรือกายทิพย์ก็รีบกลับประสานเข้าร่างเดิม จิตและใจประสานกันอีกครั้ง เมื่อเห็นว่า สุดท้ายตนก็ตาย ใดๆ ในโลกจะอยาก จะยึดเอาไว้ทำไมอีกเล่าก็จะบรรลุธรรมด้วย มโนมยิทธิ ทันที เรียกว่า ผ่านด่าน มัจจุราชมาร คือ ความกลัวตาย อาลัยชีวิต หรือการ ตายก่อนตาย จึงมีดวงตาเห็นธรรม บุคคลใดก็ตาม ไม่พร้อมเข้าสู่ภาวการณ์ตาย คือ ไม่เคยรู้สึก ตายก่อนตาย หรือ ดับ ก่อน ดับ ก็จะไม่มีทางบรรลุธรรม

ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาฌาน
ในวิชชา ฌาน การบรรลุธรรม อยู่ในเสี้ยววินาทีที่จิตเลื่อนจากฌานสามเข้าสู่ ฌานสี่ หรือฌานสี่ออกสู่ฌานสาม เท่านั้น ไม่สามารถบรรลุในขณะเข้าฌานสี่ได้ การเข้าฌาน คือ ภาวะเทียบเท่า ภูมิพรหม ไม่ใช่ภาวะนิพพาน ดังนั้น เมื่อเข้าฌานใดก็ตาม เป็นเพียงการยึดติดรสชาติของภพๆ หนึ่งเท่านั้นเอง เทียบได้กับคนที่ถอดกายทิพย์แล้วหลงเพลินความสุขบนสวรรค์ ไม่อาจบรรลุธรรมได้ จะบรรลุได้ จิตต้องไม่เข้าสู่ความเป็น ภพชาติ ใดๆ ไม่ใช่ สวรรค์ ไม่ใช่ พรหม ไม่มีภพชาติ คือ จิต ต้องไม่บรรลุใน องค์ฌาน แต่เป็นการ บรรลุระหว่างองค์ฌานสามและสี่ เท่านั้น จึงจะได้นิพพาน

ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาวิปัสสนา
สำหรับสายวิปัสสนา การบรรลุธรรมเป็นแบบ ปัญญาวิมุติ อย่างเดียว อาศัยจังหวะที่จิตมีสมาธิมีสติสูงมาก เหมือนคนอ่านหนังสือแล้วคิดอะไรได้ทันควัน เหมือนสะดุ้งเฮือก ได้สติ เห็นธรรม แล้วคลายวางทุกอย่าง หากไม่มีภาวะ สติสูงสุดเหมือนสะดุ้งเฮือก หรือ ปิ๊งแว้บ ก็ไม่อาจบรรลุธรรม กล่าวคือ ต้องมีอาการทางจิตให้สังเกตได้บางประการก่อน บางท่านอาจเกิดอาการเป๋ แล้วเคว้งคว้างก่อนเพราะหลักที่ยึดไว้เดิมถูกทำลาย จากนั้นพอทรงจิตได้ภายหลัง รับสภาวธรรมแท้ นิพพานจึงชัดเจน มั่นใจได้ว่าถึงฝั่งพระนิพพาน

สรุปภาวะ ก้าวลงสู่ความว่าง หรือ จิตตกศูนย์ ก่อนบรรลุธรรม
หากจิตไม่ตกศูนย์ หรือไม่ก้าวลงสู่ความว่าง จะไม่มีทางบรรลุ จะต้องเห็นสภาวะเดิมปรากฏชัด จากนั้นเห็นสภาวะเดิมนั้น ว่างไปอย่างเห็นได้ชัด ไม่ใช่คลุมเครือ หรือคิดนึกเอา เป็นการรับรู้ด้วยความเข้าใจหรือการเห็นสภาวะนั้นๆ อย่างชัดเจนจนกระทั่ง สติ ตื่นตัวขึ้นมาสูงสุดในฉับพลัน เหมือนการจุดประกายไฟ แล้วกำลังสมาธิมั่นคง นิ่งอยู่ ดูอยู่ เมื่อเห็นสภาวะเดิมว่างไป อย่างนั้น คลายการยึดมั่นทั้งหมดแล้ว จิตก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสรรพสิ่งได้ จึงเข้าสู่การบรรลุธรรม ดังนั้น ภาวะทางจิตนี้เอง จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการบรรลุธรรม หากจิตไม่มีอาการ หรือสภาวะเช่นนี้ บุคคลผู้ศึกษาไตรปิฎกอาจคิดไปเองว่าตนเองบรรลุแล้ว เพราะนึกเอา, คิดเอา, อ่านเอา ทำความเข้าใจเอาในหลักการในพระไตรปิฎก หากเป็นสายอภิญญาได้เห็นไตรลักษณ์เพียงน้อยก็บรรลุได้ หากเป็นสายปัญญา จะต้องคัดค้านและไม่เชื่อในพระไตรปิฎกก่อน จนตระหนักรู้ว่าตนโง่ เห็นความว่างไปของ ความโง่เขลา ของตน ก็บรรลุได้ แต่หากไม่เห็นสภาวะความว่างไปของ สิ่งที่ยึดมั่น จากจิต ก็เปลี่ยนเสมือนดวงจันทร์ถูกเมฆบดบัง ไม่เห็นสภาวะเมฆถูกสลายไป เพราะเมฆยังบดบังอยู่ ดังนั้น แสงสว่างแห่งปัญญาย่อมไม่สว่างไสวได้ จะบรรลุได้ จึงต้องเห็นสภาวะการสลายไปของ สิ่งที่บดบัง ก่อน เมื่อเห็นความว่างไป สลายไปของสิ่งที่บดบังแล้ว จึงเห็นแสงสว่างแห่งปัญญาได้อย่างแท้จริง ซึ่งบางครั้ง สิ่งที่บดบังหายไปนานระยะหนึ่ง แล้วค่อยเกิดปัญญามาอธิบายสภาวธรรมได้ในภายหลังก็มี ดังนั้น บางท่านจึงไม่ทันสังเกต ภาวะจิตตกศูนย์ หรือ การก้าวลงสู่ความว่าง หรือ การสูญไปของสิ่งที่บดบัง นี้ กล่าวคือ จิตต้องมีอาการก้างลง หรือ ตก ไปสู่ความว่างก่อน แสงปัญญาแห่งธรรม จึงปรากฏได้ ซึ่งเป็นแสงแห่งธรรมภายในตนเอง ไม่ใช่ธรรมะที่ไปอ่านจำนึกคิดมาจากที่ใด ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ดังๆ จำนวนมากมักคิดเอาว่าบรรลุแล้ว

ยังมีพระภิกษุสงฆ์อีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้ทำนิพพานให้แจ้ง ไม่เห็นแจ้งในสภาวะการว่างไป สูญไป (นิพพานแปลว่าสูญ) ดังนั้น จึงไม่เห็นอาการการว่างไป หรือสูญไป ของกิเลสเครื่องร้อยรัด นั่นคือ กิเลสนิพพาน ยังไม่ได้เกิดแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงไม่เห็นสภาวธรรม ความสูญสิ้นไปของกิเลส ไม่เห็นแจ้งได้ว่ากิเลสสุญนั้นเป็นอย่างไร ไม่รู้สึก อธิบายไม่ได้ อาศัยการทำความเข้าใจในตำราหรือการฟังธรรมด้วยสมอง ทั้งๆ ที่เรื่องการบรรลุธรรม ไม่ใช่เรื่องของสมอง แต่เป็นเรื่อง สภาวะการรับรู้ทางจิต ดังนั้น ไม่เข้าสู่สภาวะนั้นๆ และไม่เห็นแจ้งด้วยจิต จึงไม่ใช่การบรรลุธรรม พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น จึงมีกำลังสมถะแก่กล้า ข่มกำราบกิเลสได้หมด แต่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม ยังไม่บรรลุธรรม เป็นพระอนาคามี ที่คิดว่าตนเข้าถึงธรรมแล้ว เพราะอ่านแล้วมีความเข้าใจในธรรม และจะเป็นพระอนาคามีอยู่อย่างนี้ยาวนานทีเดียว โดยไม่รู้ตัวว่าตนยังไม่แจ้งอะไร เพราะอาศัยสมองและความคิดนั้นก็เข้าใจในธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ทดลองหรือเห็นด้วยตนเอง ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อ ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม โดยทั่วกัน
ศึกษาค้นคว้าจาก จูฬสุญญตสูตร




วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลวงตามหาบัวเทศน์เรื่องพระนิพพาน

http://youtu.be/c5_KCmJvwc8
เริ่มต้นจนเข้าถึงพระนิพพาน

http://youtu.be/5DZFxBeoE9Y
หลวงตาพระมหาบัว ตอบธรรมะ ห้ามพลาด

อัปโหลดเมื่อ 19 ต.ค. 2011
โยมถาม,ภาวะจิตเสื่อมก­ิเลสถ่วงจิต,สติจับให้ถูก,ให้มีสติ­คู่กับความว่าง,มันจะถอยมาเอง,­ละเอียดไปเรื่อย


http://youtu.be/j2aEbkCEHAc
คู่มือไปพระนิพพาน หลวงตาพระมหาบัว
อัปโหลดเมื่อ 21 ต.ค. 2011


http://youtu.be/RdX5HMwkoK8
หลวงตาพระมหาบัว เยือนภูจ้อก้อเทศน์เรื่องพระอรหันต์
อัปโหลดเมื่อ 25 ต.ค. 2011


http://youtu.be/MaqhPILyFrU

การปฏิบัติเริ่มต้น จนเข้าถึงพระนิพพาน เผยแพร่เมื่อ 29 เม.ย. 2012

http://youtu.be/DUtAx4KfRdc

หลวงตามหาบัว-วิธีตั้งจิตให้สงบเป็นสมาธิเผยแพร่เมื่อ 10 ก.พ. 2013

http://youtu.be/bswL3sbM8vU

หลวงตามหาบัว-นิพพานไม่ใช่อัตตา มิใช่อนัตตาเผยแพร่เมื่อ 14 ม.ค. 2013

http://youtu.be/DUtAx4KfRdc
วิธีตั้งจิตให้สงบเป็นสมาธิ
เผยแพร่เมื่อ 10 ก.พ. 2013

http://youtu.be/6yjN8QeFjk0

เป็นพระอรหันต์ทำไมน้ำตาร่วง

http://youtu.be/uTG_bvM_CfY
น้ำตาร่วงจากธรรมอัศจรรย์
อัปโหลดเมื่อ 3 ก.ค. 2011

http://youtu.be/hSJ8I3Us-oI
กัณฑ์สุดท้ายหลวงตา-หมดธุระ 9พย53
อัปโหลดเมื่อ 28 ก.พ. 2011