วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อุปาทินนกสังขาร ตอน.ท้ายคือ..อนุปาทินนกสังขาร


 คือกายที่มีผู้ครอง
อยู่ 
 หรืออัตภาพอันเป็นที่ยึดถือว่า เป็นตน  เป็นเรานี้. 
พระบรมศาสดาและพระสารีบุตรแสดงแยกเป็น ๒ แผนกคือ กาย ๑ จิต ๑  
แต่ก็อาศัยกันและกันเป็นไป,  
 ถ้าลำพังรูปไม่มีจิตก็ไม่รู้อะไร  เช่นรูปหุ่น  รูปตุ๊กตา, ถ้าลำพัง
แต่จิตไม่อาศัยรูป  ก็ไม่ปรากฏ  เหมือนไฟที่ไม่ติดเชื้อ  ก็ไม่ปรากฏฉะนั้น.  
เพราะรูปคือธาตุทั้ง ๔  กับจิตอาศัยกันเป็นไป  จึงเกิดรู้สึกทางตาที่เห็นรูป  
ทางหูที่ฟังเสียง  ทางจมูกที่ดมกลิ่น  ทางลิ้นที่ลิ้มรส ทางกายที่ถูกต้อง
โผฏฐัพพะ  ทางมนัสที่นึกคิดเรื่อง  นี้ท่านเรียกว่าวิญญาณ, 
 รู้เสวยสุขบ้าง  รู้เสวยทุกข์บ้างรู้เสวยไม่ใช้ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง 
 ตามคราวนี้ท่านเรียกว่าเวทนา,  รู้จำต่าง ๆ  นี้ท่านเรียกว่าสัญญา, ปรุงแต่ง  คือนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ  รวมลงเป็นส่วนดีบ้าง  ชั่วบ้าง  
ไม่ดีไม่ชั่วบ้าง  นี้ท่านเรียกว่าสังขาร,
ทั้ง ๔  อาการนี้ท่านรวมเรียกว่านาม  กับรูปอีก ๑  จึงรวมเป็น ๕  ท่าน
เรียกว่าปัญจขันธ์  คือกองหรือส่วน ๕,  
รวมทั้ง ๕ส่วนนี้  ท่านเรียกว่ากาย  ( ซึ่งแปลว่า  กองหมู่  หรือประชุม )  
  ส่วนจิตนั้น  คือธรรมชาติที่ให้สำเร็จความคิด  โดยเนื้อความน่าจะได้แก่
สภาพที่เป็นต้นเดิมของนามธรรม,  เมื่ออาศัยรูปจึงแสดง
อาการออกมาเป็น  เวทนา  สัญญา  สังขาร  
วิญญาณ  อันเป็นนามหรืออาการของจิต,
จิตไม่ใช่ปัญจขันธ์ที่เป็นส่วนกายโดยตรง. 
เมื่อยังไม่ได้อบรมให้มีความรู้ยิ่งถึงที่สุด
ยังมีอวิชชารู้ไม่ถูกตามเป็นจริง  หรือความเข้าใจผิดครอบงำอยู่ 
 ก็ยึดสิ่งที่รู้คือปัญจขันธ์ว่าเป็นเรา  จึงเป็นภพเป็นสัตว์ไปตามความยึดถือ, 
 ถ้ายังรู้ไม่ถูกตามเป็นจริงหรือเข้าใจผิดอยู่เพียงใด  ก็คงยึดถือสิ่งที่รู้
คือปัญจขันธ์นั้นว่าเป็นเราอยู่  และเป็นภพเป็นสัตว์อยู่เพียงนั้น, 
 แม้กายนี้จักแตกสลายไป  ก็คงถือเอาภพใหม่ชาติใหม่อีก
และคงเป็นเราอยู่เสมอ  ไม่พ้นจากเราไปได้  เพราะความยึดถือ. 
เพราะฉะนั้น  คนที่เกิดมา  ถึงจะต่าง ๆ  กันด้วยเพศพันธุ์และ
คุณธรรมเป็นต้นอย่างไรก็ตาม ถ้ายังคงถือกายเป็นเราอยู่ ก็คงเป็นเช่นนี้ด้วยกันทั้งหมด,     แต่ส่วนทียึดถือว่าเป็นเรานั้นย่อมแปรปรวนไปได้  เช่นเมื่อกายเป็น
เด็กก็ถือว่าเราเป็นเด็ก  เมื่อกายเป็นผู้ใหญ่ก็ถือว่าเราเป็นผู้ใหญ่  เมื่อกายแก่ก็ถือว่าเราแก่,  หรือเมื่อเสวยสุข  ก็ถือว่าเราสุขเมื่อเสวยทุกข์  ก็ถือว่าเราทุกข์ 
 เมื่อสวยไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข  ก็ถือว่าเราไม่ทุกข์ไม่สุข  ดังนี้เป็นต้น, 
 แต่รวมลงก็คือปัญจขันธ์นั่นเอง.  
 
  จิตนั้นอาจอบรมให้ดีหรือให้ชั่ว  ให้ฉลาดหรือให้โง่ต่างๆ กันได้ตามสามารถ  
ในปัจจุบันภพนี้ก็เห็นประจักษ์อยู่ เช่นคนอยู่ในสำนักที่ดี  ก็มักได้
อบรมในทางดีและเป็นคนดี  คนที่อยู่ในสำนักที่ชั่ว
 ก็มักได้อบรมในทางที่ชั่วและเป็นคนชั่วไป, 
 พระบรมศาสดาจึงทรงแสดงถึงผู้คบกัลยาณมิตร  ( ควรหมายถึงประพฤติตามกัลยาณมิตรด้วย )  ว่าเป็นพรหมจรรย์,  
เมื่อถือเอาเนื้อความตรงกันข้าม  ผู้คบปาปมิตร  
( ควรหมายถึงประพฤติตามปาปมิตรด้วย )  ว่าเป็นอพรหมจรรย์,  แต่ก็เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดทั้ง ๒ ฝ่าย  เพราะยังมีพื้นเพที่ดีและ
พื้นเพที่ชั่ว  ที่เรียกว่านิสัยต่างกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง. 
 ส่วนเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว  จะเป็นอย่างไรต่อไป  เหลือวิสัยแห่งญาณ
ของสามัญชนจะพึงเห็นประจักษ์ นอกจากอาศัยหลักที่ท่านแสดงไว้ว่า 
 พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงถึงพระองค์ว่า  ได้ทรง
บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  รู้ระลึกได้ถึงกายที่อาศัยอยู่ในกาลก่อน ๑  
จุตูปปาตญาณ  รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ๑  
อาสวักขยญาณ  รู้สิ้นอาสวะ ๑  และพระพุทธภาษิตในที่อื่นอีกหลายสถาน,  
แต่ส่วนผลที่ปรากฏแก่ญาณของสามัญชนที่พอจะให้สันนิษฐานสืบหาเหตุ 
ก็คือเด็กที่เกิดมา แม้ยังไม่ทันได้รับการศึกษาในปัจจุบัน ก็ยังแสดงฉลาด โง่  
พื้นเพดี  พื้นเพชั่ว มีสุข  มีทุกข์เป็นต้น  อันเป็นภพต่าง ๆ กันเป็นอันมาก  
นี้ส่อว่าเด็กนั้น ๆ  เคยได้อบรมมาต่าง ๆ กัน, 
 ถ้าไม่มีเหตุและไม่มีผลส่อถึงกันแล้ว คนที่เกิดมาก็คงเสมอเหมือนกันหมด,  
นี้เป็นเรื่องที่ควรสันนิษฐาน  เพราะญาณของสามัญชนไม่อาจเห็นประจักษ์ได้.  เมื่อมีผู้ทูลถามพระบรมศาสดา 
 เพื่อให้พระองค์ทรงแสดงให้เห็นประจักษ์โดยตรงพระองค์ทรงห้ามเสีย
และทรงแสดงอริยสัจ ๔ ซึ่งจะพึงเห็นได้ด้วยปัญญาไม่มีข้อคัดค้าน. 
 เพราะฉะนั้นข้อความที่บรมศาสดาทรงแสดงทั้ง๒ ประการ 
 จึงดูเหมือนเป็นปฏิปักษ์กัน เพราะพระองค์ทรงเห็นรอบคอบในเหตุผล
แล้วจึงทรงแสดงเช่นนั้น  เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟัง  ด้วยประการฉะนี้.  
( วชิร.  ๑๓๕-๑๓๘ ).
ดู จิต ด้วย

 อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่อสังขตธาตุ คือนิพพาน 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก