วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธ .หลวงปู่ดูลย์

จิตหนึ่ง-จิตคือพุทธ http://www.nkgen.com/13.htm,
วิธีเข้าถึงจิตหนึ่งเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=34049,ประวัติ
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) จาก บล๊อก OKnation https://sites.google.com/site/xsitimhasawk80xngkh/
พระอรหันต์ พระอสีติมหาสาวก 80 องค์ http://www.youtube.com/watch?v=o-ZUiInpns&feature=plcp,
วิธีดูพฤติจิตของตัวเราเอง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C,ขันท์

 

  1. ท่านที่จะได้นิพพานได้ เฉพาะเทวดาหรือพรหมหรือมนุษย์เท่านั้นใช่ไหม สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่า การที่ไปนิพพานได้ไปได้หมด คือ พรหมก็ไปนิพพานได้ เทวดาก็ไปนิพพานได้ มนุษย์ก็ไปนิพพานได้ สัตว์ก็ไปนิพพานได้
  2. ดู ห่าง ห่าง อย่าให้ อารมณ์ที่กระทบ...ครอบงำจิต...ดูตอนตื่นนอนประมาณตีสาม..พอเริ่มฝัน.. ให้..ลุกขึ้นเดิน...ทันที...เดี๋ยวก็เจอ..พญามารตัวจริง....เรานี่เอง .....นึกว่าใคร..
  3. " จิตเกิด สรรพสิ่งเกิด จิตดับ สรรพสิ่งสิ่งดับ "
  4. นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด
  5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑. พวกภิกษุจักเจริญอนิจจสัญญา... ๒. ...อนัตตสัญญา... ๓. ...อสุภสัญญา... ๔. ...อาทีนวสัญญา... ๕. ...ปหานสัญญา ๖. ...วิราคสัญญา... ๗. พวก ภิกษุจักเจริญนิโรธสัญญา อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
  6.  ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว.
  7. พุทธอุทาน ผู้ให้ทาน ย่อมเพิ่มพูนบุญ ผู้สำรวม (ในศีล) ย่อมไม่ก่อเวร ส่วนผู้ฉลาด ย่อมละบาปได้ เพราะสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ ผู้นั้นจึงชื่อว่าปรินิพพานแล้ว จุนทสูตรที่ ๕ จบ
  8. พุทธอุทาน ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ มีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีปฐวีธาตุ ไม่มีอาโปธาตุ ไม่มีเตโชธาตุ ไม่มีวาโยธาตุ ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ทั้งสองนั้น
  9. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกอายตนะนั้นว่า มีการมา มีการไป มีการตั้งอยู่ มีการจุติ มีการอุบัติ อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีอารมณ์ยึดเหนี่ยว นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๑ จบ
  10. ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
  11. พุทธอุทาน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จักไม่มี ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
  12. ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ ฉะนั้น จึงปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๓ จบ
  13. ข้าพระพุทธเจ้า จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือ จักไม่ตามทัน "ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักแลไม่เห็น" เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ปัญหาของโมฆราชมาณพ จบลงแล้วโมฆราชมาณพ พร้อมด้วยชฎิลทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นอาสวกิเลสทุกคน
  14. คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อลดละกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย เพื่อความสันโดษ เพื่อความไม่คลุกคลี เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา เป็นไปเพื่อวิมุตติความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อวิมุตติญาณทัสสนะความเข้าใจในพระนิพพาน
  15. ท่านบอกหายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ ยืนอยู่ก็รู้ เดินอยู่ก็รู้ บางทีใช้คำว่ารู้ชัดก็มี เดินอยู่ก็รู้ชัด นั่งอยู่ก็รู้ชัด คำว่ารู้คืออะไร รู้ที่ท่านพูดมีความหมายนะ มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ นะสอน จิตใจเป็นกุศลก็รู้ จิตใจมีความโลภก็รู้ มีความโกรธก็รู้ มีความหลงก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ สังเกตให้ดีนะ มีแต่คำว่า 'รู้' เต็มไปหมดเลยในสติปัฏฐาน จิตมีนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์ก็รู้ รู้ชัด มีพยาบาทนิวรณ์ก็รู้ เห็นไหม จิตมีอะไรต่ออะไรขึ้นมา 'รู้' ท่านสอน
  16. ก่อนท่านนอนหลับไปในคืนนี้ ขอจงตั้งดวงฤดีไว้ให้มั่น คิดถึงกุศล ผลแห่งดีที่ผูกพัน จิตตั้งมั่น แน่วแน่แล้วแผ่ไป แผ่เมตตา ทั่วไปให้คนอื่น ทั้งรักชื่นเกลียดชังแต่ครั้งไหน ขอให้เขาได้ดีมีสุขใจ อย่าหวั่นไหวแม้อมิตรที่คิดชัง แล้วใจเราจะสบายคลายเร่าร้อน เพราะจิตผ่อนความเครียดแต่หนหลัง อนีฆา สุขี อัตตานัง ห่างทุกขังด้วยเพราะจิต คิดดีเอย
  17. หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม­่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอย­ู่จริงสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเส­ียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแ­ล้ว และพฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว
  18. "ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ครั้งนั้นเรากำหนดเห็นแสงสว่างไ­ด้ แต่ครั้งแรกยังไม่เห็นรูป (เทวดา) ทั้งหลาย เราจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเราพึงกำหนดเห็นแสงสว่างได้ด­้วย และเห็นรูป(เทวดา) ทั้งหลายได้ด้วย ญาณทรรศนะของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ­่งขึ้น""ดังนั้น ในเวลาต่อมาเราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นแสงสว่างด้วย และเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย
  19. จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้านซึ่งไม่อาจจะหยั่งหรือวัดได้
  20. แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปป์หนึ่ง เต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่าถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวาย เพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธ ก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้คือ พุทธ นั่นเอง และ พุทธ ก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่งๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่
  21. จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหา พุทธภาวะ จากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นเองทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต
  22. จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัดเหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น
  23. พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย 
  24. เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกันไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากความเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขต หรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปไหนได้เลย
  25. จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวง ทุกชนิดไม่มีหยุด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก