วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำไม ใจกับกาย จึงไม่เที่ยง บางครั้งก็ทุกข์ บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ธรรมดา

  พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ไว้ครับว่า สภาพธรรมทั้งหลาย ที่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ
เป็นสังขารธรรม คือ จิต เจตสิกและรูป ไม่เที่ยง เกิดขึ้นและดับไป เป็นทุกข์และเป็น
อนัตตา
     ใจ คือ จิต ที่อาศัย เจตสิกปรุงแต่งเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยงเกิดขึ้นและดับไป กาย คือ
การประชุมรวมกันของรูปธรรม รูปธรรม ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ก็เกิดขึ้นและดับ
ไป เช่น รูปร่างกาย ทีเป็น ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เกิดขึ้นและดับไป ทำให้เห็นมีการแก่ชรา
ของรูปร่างกาย เพราะอาศัยการเกิดขึ้นและดับไป เสื่อมสลายของรูปธรรมนั่นเอง ครับ
     สำหรับที่ถามในเรื่องที่ว่า   บางครั้งก็สุข   บางครั้งก็ทุกข์  แสดงให้เห็นถึง การ
เปลี่ยนแปลงของสภาพธรรมที่คงอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นและดับไป   เพราะฉะนั้น สภาพ
ธรรมใดที่ไม่เที่ยง ชื่อว่าเป็นทุกข์ ซึ่งพระพุทะเจ้าทรงแสดง ทุกข์ ไว้ 3 อย่าง ดังนี้
ทุกขทุกข คือ สภาพธรรมทีเป้นทุกข์ทางกาย
สังขารทุกข์ คือ สภาพธรรมทั้งหมด ที่เป็น จิต เจตสิกและรูปที่เกิดขึ้นและดับไป
ไม่เที่ยงเลย
วิปรินามทุกข์ คือ ความแปรปรวนไป ไม่เที่ยง ของสุขเวทนา แม้ความสุขก็ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนแปลงไป เป็นความรู้สึกเฉยๆ หรือ ความรู้สึกที่ทุกข์ จึงเป็นความ
ไม่เที่ยง ทีเป็น วิปรินามทุกข์ ครับ
   ดังนั้น วิปรินามทุกข์ จึงตรงกับที่ผู้ร่วมสนทนา กล่าวว่า แม้แต่ความสุข ก็ไม่เที่ยง
ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไป ครับ
 ความไม่เที่ยงของสภาพธรรม จึงเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว แม้เพียงหนึ่งวินาที ก็
เกิดดับ แสนโกฏิขณะ เป้นล้านๆๆ นับประมาณไม่ได้ แล้วครับ ไม่ใช่เพียงความรู้สึก
ที่เป็นเวทนาเจตสิกทีเกิดขึ้นและดับไป จิตประเภทอื่นๆ เจตสิกประเภทอื่นๆ รวมทั้ง
รูปอื่นๆ ก็เกิดขึ้นและดับไป อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่รู้เลย ครับ
ซึ่งจากคำถามที่ว่า ทำไม ใจ กับ กายจึงไม่เที่ยง
    เหตุผลเพราะว่า ใจ คือ จิต ไม่เที่ยง เพราะ อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งที่ไม่เที่ยง
จิตเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัย สิ่งที่ไม่เที่ยง ประชุมรวมกัน คือ เจตสิก เมื่อเจตสิกก็ไม่
เที่ยง ทำให้จิตเกิดขึ้น ก็ทำให้จิตไม่เที่ยงด้วย ครับ เช่นเดียวกับ เวทนาเจตสิก ความ
รู้สึก สุข ทุกข์ ก็ไม่ทเเที่ยง เพราะอาศัย เหตุปัจจัยปรุงแต่งที่ไม่เที่ยง เช่น อาศัย กาย
คือ รูป ที่เป็นทีเ่กิดของเวทนาเจตสิก รูปทั้งหลาย ที่บัญญัติว่ากาย ก็ไม่เที่ยง และ
นามธรรมทั้งหลาย ทีเ่ป็น นามกาย ที่เป็น เจตสิกประเภทอื่นๆที่ทำให้เวทนาเจตสิก
เกิดขึ้น สภาพธรรมเหล่านั้นก็ไม่เที่ยงเช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยปรุงแต่งที่ทำให้เวทนา
เจตสิกเิกิดขึ้นไม่เที่ยง เวทนา ความรู้สึกก็ไม่เที่ยงเช่นกัน ครับ เช่นเดียวกับ กาย คือ
รูปที่ไม่ใช่    รูปเดียวมาประชุมรวมกัน อย่างน้อย ต้องมี 7 รูป เพราฉะนั้น รูป ทีเป็น
ประธาน คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อาศัย รูปอื่นๆ ที่ไม่เที่ยง เมื่ออาศัยสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ทีไม่เที่ยง ตัวเองก็ไม่เที่ยงด้วยเพราะอาศัย สิ่งที่เกิดขึ้น มาประขุมรวมกันที่ไม่เที่ยง
ด้วยนั่นเอง ครับ นี่คือ  เหตุผลที่ว่า ใจ กับ กาย คือ จิต เจตสิก รูปทำไมถึงไม่เที่ยง 
ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า
ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้นไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น   อาศัยอะไร  อาศัยกายนี้เอง  
ก็กายนี้แลไม่เที่ยง   ปัจจัยปรุงแต่ง  อาศัยกันเกิดขึ้น  ก็สุขเวทนาอาศัยกาย จึงไม่
เที่ยง  ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วจึงเกิดขึ้น   จักเที่ยงแต่ที่ไหน 
ดังนั้น จึงไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปที่เป็นจิต เจตสิกและรูป แต่หลง
ยึดถือว่าเป็นเรา หรือ เป็นสิ่งทีเกิดขึ้นกับเรา ทั้งๆที่เป็น จิต เจตสิกและรูป แต่ที่หลง
ยึดถือว่า มีเราที่มีจิต มีกาย ทั้งๆที่มีแต่ธรรมเพราะว่า มีความไม่รู้ คือ อวิชชา และมี
ปัญญาน้อย จึงไม่สามารถประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎว่าเป็น
แต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ละ เพราะ สภาพธรรมทีเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร้ว ที่
เป็นวิถีจิตสืบต่อกัน จึงทำให้ เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งต่างๆ จึงยึดถือด้วยความ
ไม่รู้และความเห็นผิดนั่นเอง ดังเช่น ไฟที่ก้านธูป หากแกว่งอย่างรวดเร็ว ก็เห็น เป็น
วงไฟที่เป็นวงกลมต่อเนื่อง ทั้งๆที่ไฟ ก็เป็นเพียงจุดเดียว เพราะ ความรวดเร็วของ
การแกว่ง และเพราะ ไม่มีการเห็นที่สามารถประจักษ์ด้วยตาเปล่าได้ ครับ ฉันใด เมื่อ
ไม่มี ตา คือ ปัญญาย่อมไม่เห็นการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้จริงๆ
ครับ ซึ่ง ปัญญาขั้นแรกจะต้องเริ่มจากการรู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ยังไม่สามารถ
ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมได้  โดยเริ่มจากการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ
ปัญญาจะค่อยๆเจริญขึ้น จนประจักษ์ความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะฉะนั้น
หนทางที่ถูกในการอบรมเจริญปัญญา คือ การฟังพะรธรรม ศึกษาพระธรรม ครับ

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=21145

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก