ตทังควิมุตติ - “พ้นได้ด้วยองค์นั้น” หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา จึงหายโกรธ, เกิดสังเวช จึงหายกำหนัด เป็นต้น เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ
ตทังคปหาน - “การละด้วยองค์นั้น”, การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆ ว่า “การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ” เช่น ละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่า “การละกิเลสได้ชั่วคราว”) และเป็นโลกิยวิมุตติ
ตทังคนิพพาน - "นิพพานด้วยองค์นั้น”, นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ กล่าวคือ เห็นเข้าใจธรรมใดได้อย่างแจ่มแจ้ง(ธรรมสามัคคคี) ทำให้ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดคราวหนึ่งๆ, นิพพานเฉพาะกรณี เช่นตทังควิมุตติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น